สรุปสาระสำคัญ “ปฏิญญาบราซีเลีย” ณ กรุงบราซีเลีย วันที่ 18-19 พฤศจิกายน พ.ศ.2558


18 พ.ย. 2561 2198 แผนงาน : ศวปถ.& มนป.


สรุปสาระสำคัญ “ปฏิญญาบราซีเลีย” ณ กรุงบราซีเลีย วันที่ 18-19 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

สรุปสาระสำคัญ “ปฏิญญาบราซีเลีย”
การประชุมรัฐมนตรีและคณะผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิก วาระที่ 2: Time for Results
ณ กรุงบราซีเลีย วันที่ 18-19 พฤศจิกายน พ.ศ.2558

ด้วยสมัชชาสหประชาชาติร่วมมีมติมอบหมายให้สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีและคณะผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิก ในวาระที่ 2 ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยทางถนน (The second Global High-level Conference on Road Safety ) ณ กรุงบราซีเลีย (Brasilia) ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในวันที่ 18 -19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยเชิญผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)  สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องค์กรการกุศล และองค์กรภายใต้การกำกับขององค์การสหประชาชาติเข้าร่วมประชุม การประชุมดังกล่าวจะได้รับทราบถึงสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนจากทั่วโลก ซึ่งข้อมูลขององค์การอนามัยโลก1 พบว่า อุบัติเหตุทางถนนถือเป็นปัญหาสำคัญต่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขและนำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิตและบาดเจ็บของผู้ใช้ถนนทั่วโลก โดยในแต่ละปีมีผู้ใช้ถนนมากกว่า 1.25 ล้านคนต้องสูญเสียเสียชีวิตและอีกกว่า 50 ล้านคนที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งนี้ 90% ของการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา1 โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กและวัยรุ่นในช่วงอายุ 15-29 ปี และเกินกว่า 2 ใน 3 ของผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นเพศชาย1  จากสภาวการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาคมโลกต้องใช้งบประมาณราว 1,850 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพของผู้ประสบเหตุทางถนน ดังนั้นการแสวงหาแนวทางในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนถือประเด็นเร่งด่วนที่ควรหยิบยกมาพิจารณา เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนด้านความปลอดภัยทางถนนอันจะยังผลทั้งด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจต่อผู้ใช้ถนนทั่วโลก

การประกาศเจตนารมณ์ปฏิญญามอสโกในการประชุมรัฐมนตรีและคณะผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิก วาระที่ 1 ปีพ.ศ. 2552 กับเป้าหมายในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกให้เหลือครึ่งหนึ่งใน พ.ศ.2563 “สู่ทศวรรษแห่งการปฏิบัติและการก้าวสู่ครึ่งทางของการทบทวนประเด็นสำคัญ” เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  ทำให้นานาประเทศต้องเพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกทางถนนที่เข้าถึงง่าย รวดเร็ว ปลอดภัย และการมีระบบขนส่งที่สามารถบริการเข้าถึงผู้ใช้ถนนทุกกลุ่ม อาทิ การปรับปรุงด้านความปลอดภัยทางถนนให้มีประสิทธิภาพด้วยการขยายระบบขนส่งสาธารณะ, การให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้ถนนที่อาจตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ง่าย เช่น ผู้หญิง เด็ก บุคคลพิการ และผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวถือเป็นวาระหนึ่งของการประชุมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 25733  

เช่นเดียวกัน การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Rio+20) เรื่องการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนที่สนับสนุนให้เกิดความสำเร็จอย่างกว้างขว้างต่อการพัฒนาในระดับนานาชาติ รวมทั้งในด้านการขนส่ง และการขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยแนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นการปฏิบัติตามบทบาทสำคัญของเสาหลักด้านความปลอดภัยทางถนนทั้ง 5 ส่วน โดยมีสาระสำคัญดังนี้

  • ความจำเป็นด้านบริการขั้นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนที่ถูกกำกับโดยรัฐบาล

  • การสนับสนุนอุปกรณ์นิรภัยเบื้องต้นของยานพาหนะ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตและการบาดเจ็บ รวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในการผลิตอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานพาหนะ ให้มีมาตรฐานตามหลักเกณฑ์สากล

  • การมุ่งเน้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคมของผู้ใช้ถนน ลดความเหลื่อมล้ำด้านฐานะ  ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน  รวมทั้งลดโอกาสเสี่ยงของผู้ใช้ถนนทั่วไป ดังนั้นนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนน ต้องครอบคลุมกับทุกกลุ่มผู้ใช้ถนน

  • การขับเคลื่อนชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน การยกระดับการเข้าถึงแหล่งเป้าหมาย แหล่งกิจกรรม ศูนย์รวมสินค้าและการบริการ โดยประเด็นดังกล่าวกำลังถูกร่างเพื่อกำหนดเป็นวาระหนึ่งในการประชุมสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาเขตเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน (Habitat III)  ที่จะถูกจัดขึ้น ณ กรุงกีโต (Quito) ประเทศเอกวาดอร์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2559
     

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและดาวน์โหลดไฟล์ ได้ที่ ปุ่มดาวน์โหลด ด้านล่างนี้ค่ะ


© 2018 - www.roadsafetythai.org All rights reserved