รายงานสถานการณ์การดำเนินนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2551-2561 ภายใต้โครงการ Joint Assessment Mission to Review Alcohol Control Policy and Strategy in Thailand

รายงานสถานการณ์การดำเนินนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2551-2561 ภายใต้โครงการ Joint Assessment Mission to Review Alcohol Control Policy and Strategy in Thailand

18 เม.ย. 2564 3156 แผนงาน : การบังคับใช้กฎหมาย


บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมสถานการณ์นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยในปัจจุบัน


นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทย มีสาระอยู่ในกฎหมายหลักสามฉบับ ได้แก่


      (1) พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมมาตรการหลัก คือ การจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางกายภาพ การจำกัดและควบคุมโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และต่อมามีการออกอนุบัญญัติย่อยตามพระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่อง
      (2) พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ของกระทรวงการคลัง เป็นกฎหมายหลักสำหรับ
มาตรการทางภาษีและราคา และระบบใบอนุญาตในการค้าสุรา และ (3) พระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ. 2522 ของกระทรวงมหาดไทย เป็นกฎหมายหลักสำหรับการควบคุมพฤติกรรมขับขี่ยานพาหนะหลัง
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


     นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมี ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2554-2563ซึ่งผ่านการรับรองจากกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และได้รับความเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรี
เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินการในภาพรวมของการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศ ยุทธศาสตร์ฯ นี้ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลักในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ 5 ด้าน
      ตารางที่ 1 แสดงยุทธศาสตร์หลักที่หนึ่งถึงสี่และมาตรการย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์เหล่านี้ยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติด้านที่หนึ่งถึงสี่ เป็นมาตรการที่มุ่งเป้าในการ
ลดปริมาณการบริโภค การควบคุมความชุกของนักดื่ม การป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ การลดความเสี่ยงของการบริโภค และการจำกัดและลดความรุนแรงของผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยรวมมาตราการเหล่านี้มีเนื้อหานโยบาย (policy content) ครอบคลุมนโยบายที่มีต้นทุนประสิทธิผลสูง(Best buys and good buys) ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก และสอดคล้องกับนโยบายเพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากปัญหาผลกระทบการบริโภคแอลกอฮอล์ขององค์การอนามัยโลก (WHO SAFER initiatives) และยุทธศาสตร์โลกว่าด้วยการจัดการปัญหาจากการบริโภคแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2553 มาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยถือว่ามีจำนวนมากและหลากหลาย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในเชิงปฏิบัติมีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่เหล่านี้ยังไม่เคร่งครัดและขาดประสิทธิภาพ บางมาตรการยังมีเนื้อหานโยบายไม่เข้มแข็ง และไม่มีเป้าหมายเพื่อการควบคุมการบริโภคและป้องกันปัญหาจากบริโภคของประชาชนโดยตรง

      ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความสำเร็จในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

• โครงสร้างพื้นฐานด้านการสาธารณสุขของรัฐที่เข้มแข็งสำหรับการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมและปกป้องสุขภาพประชาชนโดยรวม รวมถึงโครงสร้างการทำงานตามสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาจาก
ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมที่ได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตลอดจนการมีโครงสร้างทางกฎหมายและมีหน่วยงานที่มีบทบาทเฉพาะเจาะจงในการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศ ทำให้มีความต่อเนื่องในการทำงาน
• บริบททางสังคม วัฒนธรรมและศาสนาที่เอื้อต่องานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะความเชื่อและข้อปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา
• แรงสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะ ในช่วงที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงหรือคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราที่สร้างความสูญเสียสะเทือนใจ และที่เป็นประเด็นข่าวที่สังคมให้
ความสนใจ
• เครือข่ายภาคประชาสังคมในระดับประเทศและระดับพื้น ซึ่งเป็นคนในชุมชนเอง มีความเข้มแข็งและกระตือรือร้น โดยภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญในการทำให้การบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐมีความเข้มแข็งมากขึ้น ตลอดจนช่วยสร้างบรรยากาศทางสังคมเพื่อสนับสนุนการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• การมีหน่วยงานที่เฉพาะเจาะจงและมีความเชี่ยวชาญ (ตัวอย่าง เช่น สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมของ สสส. และฝ่ายสื่อสารสังคมขององค์กรภาคประชาสังคม) ในการทำหน้าที่สื่อสารสังคม
ด้วยแนวทางการตลาดเพื่อสังคม (Social marketing) เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความจำเป็นในการควบคุม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับประชาชนและสังคมในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง

ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด และความท้าทายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา


• กลไกการดำเนินคดีทางกฎหมายโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มีข้อจำกัด กระบวนการมีความซับซ้อนและล่าช้า และยังขึ้นอยู่กับการทำงาน
ของภาคตำรวจเป็นหลัก การบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินคดีไม่ตอบสนองต่อสถานการณ์และขนาดปัญหาการฝ่าฝืนกฎหมาย
• โครงสร้างในการบังคับใช้กฎหมายในระดับพื้นที่มีความอ่อนแอ ทั้งนโยบาย โครงสร้าง องค์กรบุคลากร (จำนวนและศักยภาพ) งบประมาณ และกลไกสนับสนุนการทำงานในระดับพื้นที่
• ข้อจำกัดของการแบ่งประเภทสุราในการเก็บภาษี การพิจารณาอัตราการขึ้นภาษี และระบบใบอนุญาตจำหน่ายในปัจจุบัน (หมายรวมถึงประเภทใบอนุญาต ขั้นตอนการออกใบอนุญาต และค่า
ธรรมเนียม) ที่ไม่เอื้อต่อการควบคุมการเข้าถึงทางราคาและกายภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวคือ จุดจำหน่ายปลีกรายย่อยมีจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วไป เนื่องจากขั้นตอนในการขอรับใบอนุญาตง่ายและค่า ธรรมเนียมต่ำและการขาดมาตรการในการควบคุม จำนวนและ/หรือความหนาแนน่ ของจดุ จำหน่าย กอปรกับการขาดความตระหนักของผู้ประกอบการกลุ่มนี้ในการปฏิบัติตามกฎหมาย ความลักลั่นของอัตราภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์ระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทต่าง ๆ การขึ้นอัตราภาษียังไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพและสภาพเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น
• ความไม่ชัดเจนของเนื้อหากฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายห้ามโฆษณาและส่งเสริมการตลาดที่เปิดโอกาสให้มีการตีความเอื้อต่อธุรกิจและต้องตีความเป็นรายกรณี ซึ่งบ่อยครั้งการตีความไม่สอดคล้องกันระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่และนักกฎหมาย รวมถึงการมีข้อจำกัดในการกล่าวโทษผู้กระทำผิด
• การใช้ข้อมูลข่าวสารในการผลักดันและพัฒนานโยบายยังทำได้อย่างจำกัด การตัดสินใจทางนโยบายบ่อยครั้งขึ้นกับฝ่ายการเมือง การขาดกระบวนการที่สร้างเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมใน
วงกว้าง
• อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มีมูลค่าการตลาดสูงมีการเติบโตต่อเนื่องและมีการขยายกิจการไปทำการค้าสินค้า บริการ และผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้มีอิทธิพลต่อทั้งนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ
• ระบบติดตามและประเมินผลของมาตรการยังไม่ชัดเจน ตัวชี้วัดตามที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์หลายตัวชี้วัดยังไม่มีฐานข้อมูล ทำให้ประเมินผลสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงหรือการบังคับใช้นโยบายใหม่ได้ยาก เช่น การไม่มีข้อมูลรายปีของจำนวนนักดื่ม, การไม่มีฐานข้อมูลตัวชี้วัดเพื่อติดตามผลกระทบด้านต่าง ๆ ในภาพรวมระดับประเทศ, การไม่มีฐานข้อมูลผู้มีปัญหาจากการดื่ม นอกจากนี้ ยังไม่มีงานวิจัยเชิงระบบและนโยบายที่จะมาช่วยสนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงระบบ เช่น งานวิจัยการประเมินประสิทธิผลของมาตรการของประเทศ, การวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของระบบในการบังคับใช้กฎหมาย การวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นต้น

ประเด็นปัญหาที่ควรจัดการและแก้ไขอย่างเร่งด่วน


• การป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ (เช่น อายุขั้นต่ำของผู้ซื้ออายุขั้นต่ำของผู้ดื่ม การห้ามจำหน่ายในพื้นที่รอบสถานศึกษาและหอพัก เป็นต้น) รวมถึงการใช้มาตรการในสถานศึกษา มาตรการชุมชน และกลไกทางสังคมในการสร้างความรับผิดชอบของผู้ประกอบการและบทบาทของผู้ปกครอง

• การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางจราจรที่เกี่ยวข้องจากการดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดทั้งปีไม่จำกัดเฉพาะช่วงเทศกาลวันหยุดยาว โดยเฉพาะผ่านบังคับใช้นโยบายแอลกอฮอล์เรื่องการควบคุมการเข้าถึงเชิงกายภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้น
• การควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน โดยเฉพาะจุดจำหน่ายปลีกรายย่อย รวมถึงการขายในช่องทางออนไลน์และระบบส่งถึงบ้าน (delivery)
• การลดแรงสนับสนุนในการดมื่ สุรา และการได้รับสอื่ โฆษณาส่งเสริมการขายจากธุรกิจเครอื่งดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการโฆษณาในช่องทางสื่อออนไลน์ และการโฆษณาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใช้ตราสัญลักษณ์คล้ายคลึงกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนให้เท่าทันกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายและการแทรกแซงนโยบายของธุรกิจแอลกอฮอล์และองค์กรหน้าฉากของธุรกิจ
• การปกป้องประชาชนและคนไม่ดื่มจากผลกระทบเชิงสังคมของการดื่มสุรา และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการดื่มสุรา โดยเฉพาะ กลุ่มประชาชนที่เปราะบาง เด็ก เยาวชน สตรี และครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ
• การพัฒนาฐานข้อมูลในการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานและประสิทธิผลของการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับประเทศและระดับจังหวัด


ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการสร้างความก้าวหน้าด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยในทศวรรษต่อไป


1. การสร้างความมุ่งมั่นและความตระหนักของผู้นำและผู้กำหนดนโยบายในการจัดการปัญหา
• การสร้างความตระหนักของผู้นำระดับสูงในการจัดการปัญหา ในประเด็นบทบาทภาครัฐในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการปกป้องสุขภาวะของประชาชน และลดความสูญเสียทางสังคม
และเศรษฐกิจของประเทศ
• การส่งเสริมให้มีความโปร่งใสในกระบวนการนโยบายที่ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน ตลอดจนออกมาตรการภาครัฐในการไม่รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมสุรา หรือการห้ามอุตสาหกรรมสุราทำกิจกรรมการตลาดแอบแฝง

• สำหรับผู้นำในระดับพื้นที่ เช่นเดียวกันคือ การสร้างความตระหนักต่อปัญหา ความมุ่งมั่นและความเป็นเจ้าของ สำหรับผู้นำองค์กรและหน่วยงานในระดับท้องถิ่นทั้งที่อยู่ในส่วนราชการและที่มาจากการเลือกตั้ง ในการจัดการกับปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ และการเป็นตัวอย่างที่ดีของประชาชน โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในพื้นที่ เช่น ข้อมูลผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน

2. การเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย การพัฒนานโยบายใหม่ ตลอดจนการปฏิรูประบบและโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง
• การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินคดีตามกฎหมาย(หมายรวมถึงระบบควบคุม ตรวจตรา เฝ้าระวัง ติดตาม และลงโทษ) ควบคู่กับมาตรการทางสังคมโดย
การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารจัดการและการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (เช่น ข้อมูลของผู้ประกอบการ) การพัฒนามาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกลไก และการสื่อสารสาธารณะที่เหมาะสมเกี่ยวกับผลงานในการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการบูรณาการในพื้นที่กับการบังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันและใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น บุหรี่ ยาเสพติด การพนัน อุบัติเหตุ เป็นต้น
• การพิจารณาเพิ่มบทลงโทษของมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำผิดและการกระทำผิดซ้ำซ้อน และการเพิ่มการมีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น บทลงโทษทางปกครอง
ของผู้ประกอบการที่กระผิดกฎหมาย เป็นต้น
• การกำหนดเป้าหมายระดับประเทศและระดับพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหานะหลังดื่มสุรา เช่น จำนวนและร้อยละของผู้ขับขี่ที่เคยถูกตรวจลมหายใจในรอบปี
และการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุ 100% เป็นต้น
• การปรับปรุงนโยบายควบคุมการเข้าถึงทางราคาและทางกายภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการพัฒนาระบบใบอนุญาต (ประเภทใบอนุญาต ขั้นตอนการออกใบอนุญาต และค่าธรรมเนียม)
โดยพิจารณามิติวัตถุประสงค์ในการลดปัญหาผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสังคมควบคู่ไปด้วย
• การปรับปรุงและพัฒนานโยบายควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อการสร้างความชัดเจนของเนื้อหากฎหมายให้ครอบคุลมมิติ และช่องทางต่าง ๆ ของการโฆษณาและง่ายต่อการ
ตีความและการบังคับใช้ พร้อมทั้งสร้างบรรทัดฐานในการตีความและการวินิจฉัยการกระทำผิดตามมาตรา32 ของพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ นักกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการห้ามโฆษณาและส่งเสริมการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่องทางสื่อดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาแนวทางการตลาดทางสื่อดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการด้านการโฆษณาและองค์กรสื่อต่าง ๆ

• การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพระบบในการออกนโยบายและมาตรการระดับสถาบัน องค์กรหรือหน่วยงานและระดับพื้นที่
• การลงทุนเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพฤติกรรมและผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ่านการสร้างความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศและระดับจังหวัด
เพื่อใช้ประเมินสถานการณ์และติดตามผลการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศและระดับพื้นที่ และการพัฒนาต่อยอดเป็นตัวชี้วัดที่เหมาะสมและท้าทาย

3. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่มีการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของประเด็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขเร่งด่วน และการพัฒนาปรับปรุงในระยะยาว พร้อมการตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมและท้าทาย
• การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีสำหรับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติโดยการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานหลายภาคส่วน รวมถึงการตั้งเป้าหมาย ระบบการควบคุม กำกับการ
ดำเนินการ
• การจัดลำดับเชิงพื้นที่และเชิงเหตุการณ์ เพื่อวางแผนการทำงานเชิงนโยบายและการจัดสรรทรัพยากรให้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพ โดยการพิจารณาตามความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสมรรถนะของระบบในการจัดการปัญหา
• การทบทวนข้อมูลด้านอุปทาน (Supply) ของธุรกิจแอลกอฮอล์ทั้งในและต่างประเทศในมิติต่าง ๆ เช่น แผนการตลาดของธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาดรูปแบบใหม่
ตลอดจนสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ และนโยบายทางด้านการค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนานโยบาย (ในอนาคต) ให้มีความครอบคลุมและทันต่อเหตุการณ์

4. การพัฒนากลไกสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันจากทุกภาคส่วน (Cross-sectoral actions) และการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย
• การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายของประเทศทั้งหน่วยงานด้านสขุภาพ หน่วยงานนอกระบบสุขภาพ และแหล่งทนุ ผ่านการมองปัญหาร่วมมกันเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของในการดำเนินการ เช่น การลดการตายก่อนวัยอันควรและภาระโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (ได้แก่ โรคไม่ติดต่อ การบาดเจ็บ โรคติดต่อ ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น) นโยบายแอลกอฮอล์กับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นโยบายแอลกอฮอล์เพื่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของสังคม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอนุรักษ์ นโยบาย แอลกอฮอล์เพื่อการปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

• การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายทำงาน รวมทั้งการสร้างผู้นำรุ่นใหม่และองค์กรใหม่ ๆ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการพัฒนากลไกการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์การทำงานร่วมกัน
• การทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายเชิงประชากรใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมการลดละเลิกการดื่มแอลกอฮอล์และมีสุขภาวะที่ดี เช่น กลุ่มผู้ประกอบการขายปลีกรายย่อย กลุ่มผู้ปกครองที่มีบทบาทในการ
เป็นสถาบันครอบครัว กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มข้าราชการของรัฐและรัฐวิสาหกิจ กลุ่มพนักงานในโรงงาน
• การสร้างความร่วมมือและส่งเสริมบทบาทของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชนให้มากขึ้น เช่น บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ครอบครัว และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน
ในกระบวนการนโยบายทั้งการพัฒนานโยบายใหม่ การบังคับใช้กฎหมาย และการนำนโยบายแอลกอฮอล์ของประเทศไปปฏิบัติใช้
• การพัฒนาศักยภาพด้านกฎหมาย กระบวนการนโยบาย และการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้กับหน่วยงานและบุคคล โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐและคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่

5. การปรับปัจจัยแวดล้อมและทัศนคติของสังคมต่อการจัดการปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยการขับเคลื่อนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
• การพัฒนาต่อเนื่องในกิจกรรมรณรงค์สาธารณะที่มีประสิทธิผล เพื่อการสร้างความตระหนักของประชาชนและสังคม ในประเด็นปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพและสังคมของการดื่มสุรา ความ
จำเป็นในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงประเด็นกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด อิทธิพลและการแทรกแซงทางนโยบายของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสร้างทัศนคติสังคมให้เห็นว่าสุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา
• การวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อคัดประเด็นหลักและประเด็นเสริมสำหรับการรณรงค์ในระดับประเทศ เพื่อใช้เป็นประเด็นหลักในการบูรณาการจัดกิจกรรมและต่อเนื่องในเรื่องเดียวกันตลอดทั้งปี โดยการทำงานประสานกันของหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ โดยมุ่งเป้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของสังคม เช่น การจัดให้มีเทศกาลคัดกรองการดื่มสุราในช่วงก่อนการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา เป็นต้น
• การพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสร้างศักยภาพของประชาชนและเยาวชน ในการรู้เท่าทันกลยุทธ์การตลาดและการโฆษณาของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการ
กระทำดกฎหมายและการสร้างบรรยากาศทางสังคมเพื่อส่งเสริมพื้นที่ปลอดเหล้าและเพิ่มโอกาสของการไม่ดื่ม

• การสร้างต้นแบบของชุมชนและบุคคลผู้ไม่ดื่มสุราอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำร่วมกับกิจกรรมการสื่อสารสาธารณะเชิงการตลาดเพื่อสังคม
• การส่งเสริมให้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมทางเลือกเพื่อทดแทนกิจกรรมที่มักเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา
• การทำงานร่วมกับสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งระดับองค์กรและบุคคล เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายการห้ามโฆษณา การไม่สนับสนุนการโฆษณาแอบแฝง การไม่นำเสนอข้อมูลที่อาจทำให้เกิดการรับรู้ว่าการดื่มสุราเป็นเรื่องปกติ สุราเป็นสินค้าธรรมดา และความผิดหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีหลังการดื่มหรือเมาสุราเป็นเรื่องที่ไม่ควรถือสา รวมถึงการไม่นำเสนอภาพลักษณ์ด้านบวกของการดื่มสุรา เป็นต้น

 

อารียา เวชกามา(ผู้ช่วยนักวิจัย)

บรรณาธิการ/ผู้เขียนร่วมฯ

© 2018 - www.roadsafetythai.org All rights reserved