โครงการดำเนินงานแกนนำ (Core Group) หน่วยปฏิบัติการวิชาการ (Node Action) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ 5 พื้นที่

โครงการดำเนินงานแกนนำ (Core Group) หน่วยปฏิบัติการวิชาการ (Node Action) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ 5 พื้นที่



23 พ.ย. 2561 1185 แผนงาน : ศวปถ.& มนป.


โครงการดำเนินงานแกนนำ (Core Group) หน่วยปฏิบัติการวิชาการ (Node Action) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ 5 พื้นที่ ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ จ.ลำพูน 2) ภาคกลาง พื้นที่ถนนพระราม 2 ซึ่งพาดผ่าน จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ราชบุรีและเพชรบุรี 3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.มหาสารคามและ 4) จ.อุบลราชธานี 5) ภาคใต้ จ.สตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดแกนนำและเครือข่ายวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับขับเคลื่อนในพื้นที่ ที่สามารถเชื่อมประสานการทำงานวิชาการร่วมกับแกนนำคนทำงานในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้พัฒนาเครื่องมือ ชุดความรู้ เพื่อสนับสนุนการทำงานให้เกิดพื้นที่เรียนรู้จากงานวิจัยเชิงปฏิบัติการผ่านกระบวนการสร้างการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ สุดท้ายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีการถอดบทเรียน สังเคราะห์ความรู้ จากผลการดำเนินงานของทั้ง 5พื้นที่ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อผลักดันในเกิดกลไกการขับเคลื่อนงานและข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่เสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนได้อย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานสามารถจัดตั้งคณะทำงาน Node Action วางแผนงานร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมของพื้นที่ และค้นหาแกนนำทั้งในระดับขับเคลื่อนและระดับปฏิบัติการ มีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาแนวทางการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน และได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำป้องกันอุบัติเหตุจราจร กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ (แกนนำ คณะทำงาน และทีมสนับสนุนวิชาการ สอจร.) ซึ่งเป็นการบูรณาการแผนการดำเนินงาน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไข ในลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการ และพัฒนาโจทย์วิจัยตามบริบทของพื้นที่ซึ่งทั้ง 5 พื้นที่ ได้แกนนำคณะทำงาน ทีมงาน และพัฒนาโจทย์วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้ และชุดความรู้

ทั้งนี้ในการดำเนินงานใน 5 พื้นที่ เพื่อสร้างรูปธรรมโดยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันนั้นควรเน้นการนำข้อมูลจากพื้นที่ มาทบทวนวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ปัญหาและสังเคราะห์วิธีคิดของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เพื่อให้นิยาม“การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน” ในแต่ละพื้นให้มีความชัดเจนขึ้น ควรกำหนดแนวทาง กลยุทธ์ วิธีการที่สามารถสนับสนุนโครงการในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน ควรกำหนดเป้าหมายและความคาดหวังจากการสร้างพื้นที่เรียนรู้ ให้เกิดชุดความรู้ในแต่ละพื้นที่ ควรสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพแกนนำอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้

© 2018 - www.roadsafetythai.org All rights reserved