โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจรสู่การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุแบบบูรณาการ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจรสู่การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุแบบบูรณาการ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น



23 พ.ย. 2561 1277 แผนงาน : ศวปถ.& มนป.


โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจรสู่การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุแบบบูรณาการ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการบูรณาการด้านการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุจราจรในภาพรวมของอำเภอ เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุและปัจจัยของการเสียชีวิตรวมทั้งอุบัติเหตุที่มีมูลค่าความสูญเสียสูง จากอุบัติเหตุจราจรในเชิงลึกและเชิงคุณภาพ และเพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ไปนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรของอำเภอบ้านไผ่ อย่างเป็นระบบ

กิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในโครงการ เน้นการบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว และการเก็บข้อมูลโดยการลงพื้นที่จุดเกิดเหตุเพื่อเก็บรายละเอียดการเสียชีวิตทุกราย สอบสวนอุบัติเหตุ Injury Surveillance การประชุมแบบมีส่วนร่วม(Death case conference) โดยนำข้อมูลเชิงคุณภาพ/ case study/case investigation เพื่อช่วยกันวิเคราะห์หาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงและวิธีป้องกัน โดยการเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นให้กับหน่วยงานนโยบายและหน่วยปฏิบัติ ซึ่งใช้การบริหารจัดการของหน่วยงานนั้น รวบรวมสาเหตุเชิงลึกของการเกิดอุบัติเหตุเพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องในระดับนโยบายระดับสูงต่อไป

จากการดำเนินงาน 1)ทำให้เกิดทีมงานเครือข่ายการทำงานที่เข็มแข็ง กลุ่มแกนซึ่งเกาะติดปัญหา ที่มีความมุ่งมั่นและทุ่มเท เวทีประชุมพูดคุยกันสม่ำเสมอ รวมทั้งเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 2)เกิดกระบวนการบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว ภาคีเครือข่ายได้นำข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุมาเชื่อมโยงและใช้ร่วมกัน 3)ข้อมูลอุบัติเหตุได้รับการวิเคราะห์เกิดกระบวนการ การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนสู่การแก้ไขปัญหา อุบัติเหตุจราจร นำเสนอข้อมูลที่มีชีวิตทำให้กระตุ้นจิตใจของผู้ได้รับข้อมูล 4)เกิดกระบวนการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ชุมชนและเอกชนในการเข้ามามีส่วนร่วมซึ่งเป็นจุดเด่นและจุดแห่งความสำเร็จของโครงการนี้อย่างมาก เช่น การแก้ไขจุดเสี่ยงที่ถนนมิตรภาพหน้าปั๊มน้ามันปตท. สี่แยกหนองน้าใส และจุดเสี่ยงหลายแห่งในพื้นที่ได้รับการแก้ไขทันที 5)ใช้สื่อโทรทัศน์ สื่อเคเบิ้ลท้องถิ่นและสื่ออื่นๆเข้ามาช่วยในการกระตุ้นการแก้ไขปัญหา และการประชาสัมพันธ์ สะท้อนปัญหา และเสนอสิ่งดีดีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และ 6)หน่วยงานที่เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายเกิดการตื่นตัวมีการต่อยอดโครงการอบรมให้ความรู้การขับขี่ปลอดภัยเจ้าหน้าที่ในสังกัด

© 2018 - www.roadsafetythai.org All rights reserved